วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย

การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ชื่อผู้วิจัย  :    สายทิพย์   ศรีแก้วทุม

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จุดมุ่งหมาย
    
        เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับกิจกรรมสร้างสรรค์แบบปกติ

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า

        การศึกษาครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับกิจกรรมสร้างสรรค์แบบปกติ ซึ่งทำให้ได้ข้อสรุป ถึงวิธีการที่จะส่งผลต่อการพัฒนาการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย  และจะเป็นแนวทางใหม่สำหรับครูแลพผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
ปฐมวัย  ที่จะนำไปใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

สมมุติฐานในการศึกษาค้นคว้า
   
        เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับกิจกรรมศิปสร้างสรรค์แบบปกติมีการคิดอย่างมีเหตุผลแตกต่างกัน

วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า

       - กลุ่มตัวอย่าง
        ในการศึกษาครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างคือ  เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 5-6 ปี  ชั้นอนุบาลปีที่ 2ภาคเรียนที่1 
ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนบ้านทรัพย์สมบูรณ์ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา  จังหวัดขอนแก่น 
โดยการสุ่มอย่างง่ายด้ยการจับฉลากจากห้องเรียนทั้งหมด 2 ห้องเรียน มา1 ห้องเรียน

นิยามศัพท์เฉพาะ

        1.เด็กปฐมวัย หมายถึง  นักเรียนชาย - หญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนบ้านทรัพย์สมบูรณ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
         2.การคิดอย่างมีเหตุผล  หมายถึง  กระบวนการรับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ โดยใช้หลักข้อเท็จจริงรวมทั้งประสบการณ์มาใช้เป็นข้อมูล ในการหาคำตอบเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถวัดได้จากแบบทดสอบวัดความสามารถคิดอย่างมีเหตุผลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยการคิดอย่างมีเหตุผล  5 ด้าน คือ
              - การจำแนก หมายถึง ความสามารถในการจัดกลุ่มสิ่งของ
              - การจัดประเภท   หมายถึง  ความสามารถในการจัดหาสิ่งของ
              - การอุปมาอุปมัย  หมายถึง  ความสามารถในการหาความสัมพันธ์ของภาพของภาพคู่แรกกับคู่สองที่มีลักษณะความสัมพันธ์เป็นแนวเดียวกัน ซึ่งมีทั้งภาพเหมือนจริงและรูปทรงเลขาคณิต
              - อนุกรม  หมายถึง  ความสามารถการหาลำดับความเปลี่ยนแปลงอย่างมีะบบของภาพที่กำหนดให้ว่าสัมพันธ์กันอย่างไรโดยหาแนวโน้มภาพชุดแรกก่อน แล้วตอบได้ว่าถาพต่อไปควรเป็นภาพใด
              - การสรุปความ  หมายถึง  ความสามารถในการสรุปผลจากเรื่องที่กำหนดมาให้
          3.กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ หมายถึง  กิจกรรมศิลปะประจำวันซึ่งกำหนดในช่วงเวลากิจกรรมสร้างสรรค์  ประกอบด้วย การวาดภาพระบายสี  การปั้น  การพิมพ์ภาพ  การพับ ฉีก ตัด แปะ  และประดิษฐ์วัสดุต่างๆ การวิจัยครั้งนี้จำแนกเป็น 2 ลักษณะ  คือ
              - กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ
              - กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์   ใช้กระบวนการขั้นตอน ดังนี้
                 1.รับรู้ประเด็นปัญหา  หมายถึง  ครูกำหนดเงื่อนไขในการทำกิจกรรมเพื่อให้เด็กเกิดปัญญา
                 2.ทดลองปฏิบัติ   หมายถึง  เด็กพิจารณาปัญหาและเลือกวิธีแก้ปัญหาและลงมือทำกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา
                 3.ตอบคำถาม  หมายถึง  เด็กตอบคำถามจากประเด็นปัญหาที่เป็นเหตุและผลที่ได้รับ
                 4.สรุป  หมายถึง เด็กร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากกิจกรรม

ตัวแปรที่ศึกษา

        ตัวแปรอิสระ   ได้แก่    กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย   ซึ่งแบ่งเป็น  2 รูปแบบ  ดังนี้
                       
                          - กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                          - กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ

        ตัวแปรตาม     ได้แก่    การคิดอย่างมีเหตุผล


เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
    
      1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
      2.แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล

วิธีการดำเนินการทดลอง

      1.ทำความคุ้นเคยกับเด็กนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างรวมระยะเวลา 1 สัปดาห์
      2.ทำการทดสอบก่อนการทดลองกับเด็กด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล 5 ด้าน  ด้านละ 10 ข้อ  รวม 50 ข้อ
      3.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองกับกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม  โดยแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมทุกวัน
 วันละ 20 นาที เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ๆ 5 วัน  รวม 40 ครั้ง
      4.เมื่อสิ้นสุดการทดลอง  ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดสอบทั้ง 2 กลุ่มด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล ชุดเดียวกับที่ทดสอบก่อนทำการทดลอง

สรุป

      เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับแบบปกติหลังการทดลองมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น