วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

   บันทึกผลการเรียน

วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

(SCIENCE EXPERIENCES MANAGEMENT FOR EARLY CHILDHOOD)

ชื่อ นางสาวกมลทิพย์  หมื่นเดช  รหัสนักศึกษา 5511202094   เลขที่ 17

กลุ่มเรียน 102




ความรู้ที่ได้รับ   (Knowledge gained)


 - อาจารย์ให้ทำสื่อวิทยาศาสตร์  (ลูกยางกระดาษ)
  • ได้รู้เรื่องแรงโน้มถ่วง
               - การชะลอของสื่อเวลาที่โยนสื่อ
               - สื่อลอยในอากาศได้เหมือนกับ กระโดดร่ม หรือ เครื่องบิน ทำให้ได้เกิดการเรียนรู้
     ทักษะ  และเปรียบเทียบความต่าง ความไม่เหมือนกัน
               - ได้สร้างผลงานขึ้นมาเอง



   ผลงานที่ทำ  ( ลูกยางกระดาษ )

นำเสนอบทความ  
     1.สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์จาก เป็ดและไก่
  • เรียนรู้ผ่านนิทาน  ถ้าใช้นิทานเป็นตัวช่วยจะทำให้เด็กเกิดความสนใจ เพราะเด็กชอบนิทาน
     2.แนวทางให้เด็กทดลองวิทยาศาสตร์
  • เนื้อหาไม่ได้สำคัญกับเด็กปฐมวัย  แต่ที่สำคัญสำหรับเด็ก คือ การให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพราะจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และทักษะ ทำให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าเรียนเนื้อหา
  • สอนเด็กปฐมวัยไม่ควรแยกเป็นวิชาแต่ควรสอนแบบองค์รวม เพราะครูต้องพัฒนาเด็กไปพร้อมๆกัน ทั้ง 4 ด้าน
     3.วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
  • ให้ลงมือกระทำด้วยตนเอง                                              
  • ตอบสนองและส่งเสริมความต้องการของเด็ก
     4.โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
  • หาความรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว
  • ทำกิจกรรมผ่านการสืบเสาะหาความรู้
  • คิด - แก้ปัญหาด้วยตนเอง



การนำไปประยุกต์ใช้ (Application)
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจรรมการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยเพื่อให้เหมาะกับพัฒนาการ
ในแต่ละวัยของเด็ก เวลาจัดกิจกรรมก็ควรยึดเด็กเป็นหลักว่าเด็กอยากเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไร

ประเมินผล (Evaluate)                                     

ประเมินตนเอง   ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีความสนุกสนานเวลา
ทำกิจกรรมที่อาจารย์จัดให้ และตั้งใจเรียน

ประเมินเพื่อน    ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์จัดให้ มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม 

ประเมินอาจารย์  
  มีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ ทำให้เด็กอยากเรียนมีการถาม คำถาม - ตอบ
                                 กับนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา  และคอยให้คำอธิบายเพิ่มเติมหลังเพื่อน
                                 เสนอบทความ ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น