วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

บันทึกผลการเรียน
       วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย          
( SCIENCE EXPERIENCES MANAGEMENT FOR EARLY CHILDHOOD )

         ชื่อ นางสาวกมลทิพย์  หมื่นเดช  รหัสนักศึกษา 5511202094  เลขที่ 17       

กลุ่มเรียน  102


 ความรู้ที่ได้รับ  (Knowledge gained)                                          

   - อาจารย์ให้ออกนำเสนอสื่อผลงานของตัวเองที่ได้ประดิษฐ์มาของแต่ละคน ซึ่งของดิฉันประดิษฐ์สื่อชื่อ  ลูกข่างจากแผ่น CD  และการนำลูกข่างมาเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์ได้ก็คือลูกข่างหมุนได้เพราะแรงเหวี่ยงของเรา เมื่อเราออกแรงหมุนลูกข่างตัวลูกข่างก็จะคงรักษาสมดุลของตัวเองเอาไว้เท่ากันทุกๆด้านเลยทำให้ลูกข่างหมุนตัวได้ แต่พอแรงเหวี่ยงเริ่มเบาลง ทำให้การรักษาสมดุลลดลงแล้วเกิดการเอียง ก็ทำให้ลูกข่างหยุดการหมุนลง  และอีกอย่างที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์คือเรื่องของแสงที่เกิดขึ้นทางด้านเงาของแผ่น CD เกิดขึ้นได้อย่างไร ?                                                     
เพราะแสงส่องมายังแผ่น CDและตาของเราสามารถรับคลื่นช่วงนั้นได้และอีกอย่างแสงที่ส่องลงไปยังแผ่นซีดีมีความยาวคลื่นต่างกันจึงมีมุมหักเหทำให้เกิดแสงสีรุ้งให้เราเห็น

                                                                                                                       

 
ลูกข่างจากแผ่น CD

อุปกรณ์

1.แผ่น CD
2.ลูกปิงปอง                                             
3.ฝาขวดน้ำ
4.กาว
5.กรรไกร
6.กระดาษ

วีธีทำ            
                                                                
1.  นำแผ่น CD เก่าๆมาติดลูกปิงปองตรงด้านที่เป็นลายสวยๆ
2.  นำฝาขวดมาติดตรงกลางที่เป็นด้านเงาๆสีเงิน
3.  นำไปหมุนเล่นสวยๆเหมือนลูกข่าง
  -  กิจกรรมของเล่นไต่เชือก

     


 การนำไปประยุกต์ใช้  (Application)                                                          

    - สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ไปใช้ในการเรียนการสอนให้เด็กในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์และเชื่อมโยงสื่อเข้ากับการเรียนวิทยาศาสตร์ ในเรื่อง การรักษาสมดุล และเรื่องของแสงได้
    - สามารถนำไปจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ และให้เด็กได้ลงมือทำเองได้ เพราะสื่อชิ้นนี้ทำได้ง่ายๆและไม่ยากเกินไปสำหรับเด็กปฐมวัย

    - สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้สามารถเป็นของเล่นให้เด็กเล่นได้ เกิดความสนุกสนาน และน่าสนใจ

 ประเมินผล (Evaluate)                                                  

ประเมินตนเอง      มีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอสื่อมาแต่ยังไม่ดีเท่าที่ควร  แต่ง                                                       กายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและฟังการนำเสนอสื่อของเพื่อน    

ประเมินเพื่อน        เพื่อนส่วนใหญ่มีการนำเสนอสื่อที่ดี ตั้งใจเรียนกันเป็นอย่างดี แต่งกาย                                                     เรียบร้อย                 

ประเมินอาจารย์    อาจารย์มีการให้คำแนะนำที่ละเอียดมาก และมีการเตรียมอุปกรณ์ในการ                                                    เรียนมาให้นักศึกษาเป็นอย่างดี








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น